28/7/58

Week 8 : Review/แนะนำ การใช้งาน 1 โปรแกรม

                    อะแฮ่ม กลับมาพบกันอีกแล้ววว กับบล็อกของควอนแป้งส์ สำหรับสัปดาห์นี้นะค่ะ หัวข้อในการทำบล็อกคือ รีวิวและแนะนำของใช้งาน มา 1 โปรแกรม และวันนี้ฉันก็เลือกมารีวิว โปรแกรมที่ใช้แสนง๊ายง่าย แต่เลิศเว่อร์มาฝากทุกคน นั่นคือ แอพแต่งรูปยอดฮิต อย่าง Cymera ซึ่งสามารถโหลดได้ทั้งระบบ ios และ android เชื่อว่าสาวๆทุกคน คงเคยได้ยินชื่อแอพนี้ เพราะแอพนี้ เปลี่ยนคนให้เป็นนางฟ้ามานักต่อนักแล้ว เอาล่ะเริ่มอยากรู้วิธีการใช้กันแล้วใช่มั้ยย มาเริ่มกันเล้ย.... 

1. โหลดแอพกันก่อนนะจ๊าาาาาา อย่าลืมติดตั้งให้เรียบร้อยด้วยละ



1.     2.  ไหนๆ โหลดแอพมาแล้ว มาดูรูปร่างของแอพกันหน่อย


3      3.   พูดง่ายๆ แอพนี้ เราสามารถสมัครสมาชิก แชร์ภาพต่างๆกันได้  
               ลองมองแถบด้านล่าง ด้านซ้ายมือ จะเป็นสัญลักษณ์รูปรูปภาพ คือเราสามารถเลือกรูปภาพจากในโทรศํพท์มือถือของเรามา แต่งได้อย่างงามๆ  มองที่ตรงกลางจะเป็นสัญลักษณ์รูปกล้อง หมายถึงว่า เราจะถ่ายรูปผ่านแอพนี้กัน และสัญลักษณ์มุมขวาสุด หมายถึง เราสามารถเลือก รูปแบบต่างๆของการแต่งภาพได้ เช่น แชร์รูปภาพ ฟิลเตอร์ ภาพปะติด  สติ๊กเกอร์ ฯลฯ      
        4. เรามาเริ่มแต่งภาพกันเลยนะค่ะ คือ เราก็กดที่สัญลักษณ์รูปรูปภาพ มันจะขึ้นรูปขึ้นมามากมาย ลองเลือกดูกันสักรูปน่ะค่ะ



 เมื่อเลือกรูปได้แล้วจะเห็นสัญลักษณ์คล้าย คฑาก็กดกันเข้าไปเลยจ้า มันจะขึ้นแถบด้านบนมามากมายก่ายกองเลยใช่มั้ย เอาละเราจะมาเริ่มทีละตัวกันเลย

        5. 


1.       ถ้าเรากดที่แก้ไข คือ เราสามารถหมุนภาพได้ ครอบตัดได้ หรือจะปรับแนวรูปก็ได้
           - ถ้าเรากดที่ปรับ คือ เราสามารถรีทัชอัตโนมัติ ปรับความสว่างได้ เพิ่มหรือลดความเข้มแสงและความอิ่มสีได้ ปรับความคมชัดได้
           - ถ้าเรากดที่เอฟเฟ็กต์ คือ เราสามารถปรับฟิลเตอร์ ปรับแสง เพิ่มขอบ ทำภาพให้เบลอ หรือเป็นโมเสกได้ 
        -  และก็มาถึงตัวสำคัญ คือถ้าเรากดที่ ความงาม เราจะสามารถเพิ่มขนาดดวงตา เพิ่มรอยยิ้ม กระชับหน้าเรียวได้ ลบจุดด่างดำได้ เพิ่มความขาวใสนุ่มนวลให้ผิว ปรับเปลี่ยนทรงผม และเพิ่มเมคอัพก็ได้น่ะจ๊า
          -  และอันสุดท้ายคือตกแต่ง คือ เราสามารถเพิ่มสติ๊กเกอร์ เพิ่ม face pop เพิ่มข้อความต่างๆ ได้

         6. เอาละเมื่อรู้แล้วว่าแต่ละอย่างใช้อย่างไร ฉันจะเริ่มแต่งรูปละน้ะจ้า
         7.  เสร็จแล้ว อย่าลืมกดเซฟ เรามาดู Before & After กันค่ะ
เขินจุง อิอิ ต่างกันมากมายก่ายกองใช่มั้ยค่ะ 

BEFORE          














                                                                             AFTER






















ถ้าใครดูขั้นตอนแล้วยังไม่เข้าใจ เราก็มีรีวิวการใช้โปรแกรม ผ่านยูทูปมาให้ดูกันจ้าา 



ถ้าเพื่อนๆคนไหน สนใจแอพนี้ก็สามารถหาโหลดกันได้ แอพนี้ใช้ง่ายๆ
แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้าน่ะค่ะ บ้ายบาย 
       

 
 


 

15/7/58

Week 7 : คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( COMPUTER NETWORK ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใน เครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้

ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ระบบเครือข่าย  
1.       การแบ่งกันใช้ข้อมูล
2.       เพื่อให้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ใช้
3.       เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบประมวลผล มีการส ารองข้อมูลตลอดเวลา
4.       เพื่อให้สามารถประมวลผลแบบกระจาย
5.        เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยากร  เพื่อใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้

ประเภทของระบบเครือข่าย
1. LAN (Local Area Network)
2. MAN (Metropolitan Area Network)
3.WAN (Wide Area Network)

LAN (Local Area Network) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน เช่น การ เชื่อมต่อในตึกเดียวกัน หรือห้องเดียวกัน การเชื่อมต่อในมหาวิทยาลัย การ เชื่อมต่อในหน่วยงานต่างๆ โดยส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ลในการติดต่อสื่อสาร กัน โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อกันอยู่นั้นสามารถที่จะแบ่งกันใช้ข้อมูล สามารถ โอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ รวมทั้งยังสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันได้


MAN (Metropolitan Area Network) เป็นการนำระบบ LAN หลายๆ LAN ที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจตั้งอยู่ ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร มาเชื่อมต่อกัน มักจะเป็นบริษัทหรือ หน่วยงานขนาดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบ คอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดอยู่ภายในบริเวณ เมือง หรือในจังหวัด เป็นต้น


WAN (Wide Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันแบบกว้างขวาง อาจจะเป็น ภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ เป็นการใช้หลายๆ LAN หรือหลายๆ MAN ซึ่งอยู่คนละพื้นที่เชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น ส านักงานที่ New York เชื่อมต่อกับที่ Tokyo โดยการเชื่อมต่อสามารถทำได้โดยการใช้ ATM, DSL, ISDN หรือ อื่นๆ แต่การเชื่อมต่อจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อต่ำกว่าการ เชื่อมต่อแบบ LAN



อาจจะมีอีกประเภทหนึ่ง คือ SAN (Small Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่ขนาดเล็กมาก อาจจะ เป็นในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่มีจำนวนของคอมพิวเตอร์ไม่ควร จะเกิน 10 เครื่อง

ลักษณะการทำงาน การทำหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องของ ระบบเน็ตเวิร์คเป็นสำคัญ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.       Peer to Peer Network เป็นลักษณะของกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีสิทธิ์เท่าเทียม กันหมด (Peer) ไม่มีเครื่องไหนทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางของเน็ตเวิร์คเครื่องทุกเครื่องเป็นทั้งผู้ใช้ และผู้ถูกใช้ สามารถเป็นได้ ทั้ง Client และ Server ไม่มีเครื่องไหนมีหน้าที่ดูแลจัดการระบบทั้งหมด เป็นต้น ว่าการแชร์ทรัพยากรจะทำอย่างไร ใครเป็นผู้ดูแล ผู้ใช้งานแต่ละเครื่องจะเป็นผู้ดูแล ข้อมูลและทรัพยากรของตัวเอง



2.             Client-Server ในกรณีที่องค์กรของเรามีผู้ใช้เครื่อง มากกว่า 15-20 เครื่อง ระบบเน็ตเวิร์คแบบ peer to peer จะไม่เหมาะสม เราควรเลือกใช้ระบบ client-server จะเหมาสมกว่า เพราะมีความสามารถในการดูแลควบคุมการใช้งานของระบบเน็ตเวิร์คที่มีผู้ใช้จำนวน มากได้ดีกว่า ระบบเน็ตเวิร์คแบบนี้จะเป็นระบบที่มีศูนย์กลาง มีคอมพิวเตอร์ที่ทำ หน้าที่ดูแลระบบ อำนวยความสะดวก จัดเก็บข้อมูล รักษาความปลอดภัยให้กับ คอมพิวเตอร์ทั้งระบบ มีหน้าที่คล้ายๆเป็นหัวหน้ากลุ่ม เราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ ว่า server ส่วนเครื่องที่เหลือในระบบที่ไม่ได้ทำหน้าที่นี้เราเรียกว่าclient หรือ workstation เป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์ในระบบ ที่ทำหน้าที่รับบริการจากเครื่อง server ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานทุกอย่างของเน็ตเวิร์ค เช่นของมูลเครื่องพิมพ์ จะถูกดูแล และ แชร์โดยเครื่อง server อุปกรณ์ทุกอย่างจะถูกเชื่อมต่อโดยตรง เครื่อง client ทุกเครื่องจะใช้งานทรัพยากรต่างๆ ผ่านทาง server


                                  การเชื่อมต่อเครือข่ายแบ่งตามสื่อได้ 2 ประเภทคือ
-                                         - Ethernet / Fast Ethernet / Gigabit Ethernet LAN
-                                          - Wireless LAN

Ethernet / Fast Ethernet / Gigabit Ethernet LAN
การเชื่อมต่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบ LAN ในปัจจุบัน โดยมีอัตรารับส่งข้อมูล สูงสุดถึง 10 Gbps โดยเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือ สาย Fiber optic  

   ระยะทางและความเร็วในการเชื่อมต่อแบบ Ethernet





-  

รูปแบบของระบบเครือข่าย
หมายถึงรูปแบบในการจัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ สาย เคเบิ้ล และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อที่จะให้ข้อมูลได้ทำงานตามทิศทางที่ เราได้กำหนดไว้ โครงสร้างเน็ตเวิร์คที่ต่างกันมีความต้องการด้าน อุปกรณ์ต่างๆ เช่นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ดังนี้


                            ข้อดี
-         ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสามารถใช้ได้ ทำให้ ระบบมีเสถียรภาพสูง
-         นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และ เครือข่ายที่มีความสำคัญ  
ข้อเสีย
-         สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่นๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยน และบำรุงรักษาระบบ เครือข่าย



                  เป็นเน็ตเวิร์คที่ง่ายที่สุด และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ด้วยการใช้สายเคเบิ้ลเป็นสายหลัก เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องโดยมีเน็ตเวิร์คการ์ดเป็น ตัวเชื่อมระหว่างสายเคเบิ้ลกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะถูกส่งออกไปตามสาย ไปยังคอมพิวเตอร์ ทุกๆเครื่อง ไม่สนใจว่าเครื่องไหนคือผู้รับ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะตรวจสอบเอง ว่าข้อมูลที่ ส่งออกมานั้นเป็นของเครื่องตนเองหรือไม่ ถ้าไม่ จะปล่อยข้อมูลผ่านไป แต่ถ้าใช่ ก็จะนำข้อมูล เหล่านั้นไปใช้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ ในระบบ นี้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันหลายเครื่องในเวลาเดียวกันเป็นสาเหตุให้ ประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์คจะน้อยลงเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์มากขึ้น สายเคเบิ้ลที่เป็นสายกลาง ที่ต้องใช้รับและส่งข้อมูล เรียกว่า backbone สายที่ใช้ส่วนมากจะเป็นสาย coaxial มีลักษณะ คล้ายๆกับสายเคเบิ้ลทีวี การใช้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ปิดหัวและท้ายของสายเคเบิ้ลด้วย เรียกว่า terminatorคอยรับสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับไป ซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนสัญญาณได้ บัส เป็น วิธีที่ง่าย และสะดวกที่สุดในการติดตั้งเน็ตเวิร์ค ไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์มากมาย มีเพียงแค่สายเคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค-การ์ด และเทอร์มิเนเตอร์ก็พอแล้ว มักใช้กับเน็ตเวิร์คขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มากนัก

ข้อดี
-          ประหยัด สะดวก ง่ายต่อการนำอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ใช้สายเคเบิลน้อยกว่าการต่อแบบ Star
ข้อเสีย
-         ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ ถ้าสายหลักชำรุด จำเป็นต้องมี Terminator ที่ปลายทั้ง 2 ข้างของสายหลัก เพื่อป้องกัน สัญญาณสะท้อนกลับไปมาภายในสาย ค้นหาจุดที่เกิดปัญหาได้ยาก ถ้าระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีผลกับประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ค มีการชนกันของข้อมูลที่ส่งออกไปมากจนทำให้เกิดปัญหา


                       ข้อดี
-         ง่ายต่อการต่ออุปกรณ์และการเดินสาย สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ หรือถอดอุปกรณ์ออกได้ง่าย และไม่รบกวนส่วนอื่น ง่ายต่อการตรวจสอบจุดที่เกิดปัญหา และการแยกอุปกรณ์บางส่วนออกจากระบบ
                     ข้อเสีย
-         เปลืองสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบ Bus ถ้า hub หรือ switch ที่เชื่อมอยู่ตรงกลางมีปัญหา จะทำให้ระบบเครือข่ายทั้งหมด มีปัญหาไปด้วย ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการต่อแบบ Bus เนื่องจากจำเป็นต้องมี Hub หรือ Switch เชื่อม ตรงกลาง เป็นลักษณะการเชื่อมต่อโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าสู่อุปกรณ์ส่วนกลางที่ เรียกว่า ฮับ (HUB) ข้อมูลหรือสัญญาณจะเดินทางจากเครื่องส่งไปสู่ผู้รับโดยผ่านฮับ


เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ในลักษณะของรูปวงแหวนโดยใช้สาย เคเบิ้ล การต่อลักษณะนี้จะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสุดท้าย การส่งข้อมูลจะวิ่งผ่าน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเป็นรูปวงแหวนในทิศทางเดียวกัน เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่อง หนึ่งต้องการส่งข้อมูล มันจะทำการใส่ข้อมูลตำแหน่งของเครื่องที่มันต้องการจะ ส่งไปให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะนำสัญญาณมาเช็คว่าเป็นของตนเองหรือเปล่า ถ้า ไม่ใช่ ก็จะส่งไปให้เครื่องต่อไป สัญญาณจะวิ่งไปจนกระทั่งเจอคอมพิวเตอร์เครื่อง นั้น และรับข้อมูลนำไปใช้เนื่องจากสัญญาณจะวิ่งไปเรื่อยๆ เป็นวงกลม จึงไม่ ต้องการอุปกรณ์ปิดหัวท้าย มักจะใช้กับเน็ตเวิร์คที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ไม่ไกลกันมาก นัก ใช้โทเค็นเป็นสื่อในการส่งสัญญาณ โทเค็นจะถูกวิ่งผ่านไปทุกเครื่องเรื่อยๆ จนกว่าเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลจะดึงโทเค็นไปใช้และส่งสัญญาณออกมา เครื่องที่มี โทเค็นเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้


ข้อดีของระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring
การเพิ่มเติมขนาดของระบบเครือข่าย ส่งผลต่อประสิทธิภาพไม่มาก¢ ลดจำนวนตัวรับและส่งสัญญาณลงครึ่งหนึ่ง (ในกรณี Ring ทางเดียว) ทุกๆ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะช่วยขยายสัญญาณ ทำให้สามารถต่อเป็นวงใหญ่ได้

-                     ข้อเสียของระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring 
                        ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบอื่น เนื่องจากต้องผ่านอุปกรณ์หลายตัวถ้าอุปกรณ์บางตัวหรือสายเคเบิ้ลชำรุด จะทำให้เครือข่ายทั้งหมดไม่ สามารถใช้การได้ (ในกรณี Ring ทางเดียว)



ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้
จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
สื่อนำข้อมูล (Transmission Media)
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (Software)


อุปกรณ์เครือข่าย คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่าย 
- Bit (บิต) หน่วยทางไฟฟ้า มีค่าเท่ากับ 0 หรือ
- Bandwidth (แบนด์วิทช์) คือ ความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านระบบ เครือข่าย มีหน่วยเป็น bps (บิตต่อวินาที)
-         


           ฮับ (HUB) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมกันระหว่างกลุ่มของคอมพิวเตอร์   ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง   เพื่อส่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย

-          สวิตซ์  (Switch)  หรือ บริดจ์  (Bridge)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ LAN สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน  โดยจะต้องเป็น LAN ชนิดเดียวกัน และก็ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน เช่น ใช้ในการเชื่อมต่อ Ethernet LAN ทั้งสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน


-          เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายกับหลายระบบเข้าด้วยกันที่คล้ายกับบริดจ์  แต่ก็มีส่วนการทำงานจะซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์ก็มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า  Routing Table  ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง และเลือกเส้นทางเหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ในการเดินทาง  และเพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


-          โปรโตคอล (Protocol) ในการเชื่อมโยงของเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ ในแต่ละเครื่องอาจก็ต้องมีระบบที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกัน เช่นในการใช้งานในเครือข่ายจึงต้องเป็นมาตรฐานหรือระเบียบที่ใช้ในการติดต่อให้แต่ละเครื่องมีวิธีการสื่อสารที่เป็นไปตามแนวทางเดียวกันได้  เพื่อให้เป็นการเชื่อมโยงข้อมูล และในการติดต่อสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องต้องมีความเข้าใจถูกต้องตรงกันและสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี  ไม่เกิดความเสียหายนั้นเกิดขึ้น จึงมีการกำหนดวิธีการมาตรฐานขึ้นเรียกว่าโปรโตคอล ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าโปรโตคอล  หมายถึง  กฎเกณฑ์  ข้อตกลง  ภาษาสื่อสาร รูปแบบ วิธีการเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (ระบบใดๆ ก็ตาม)ให้สามารถติดต่อสื่อสารมีการใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย


ขขอขอบคุณข้อมูลจาก :